Skip to main content

Aas-Jakobsen Finds New Ways of Working with Tekla Model Sharing

Aas-Jakobsen บริษัท วิศวกรรมโยธาของนอร์เวย์ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านวิศวกรรมโครงสร้างจนมีงานล้นมือมามากกว่า4ปี บริษัทมี2โปรเจคขนาดใหญ่ในแผนกbuildings  ซึ่งในช่วงเวลานั้นมักยากต่อการหาจ้างทีมงานมาปฏิบัติการในประเทศนอร์เวย์ และพวกเขารู้จักบริษัทที่เหมาะสมที่จะทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตชั่วคราวและแล้วเครื่องมือดีๆก็เป็นสิ่งจำเป็น

หนึ่งในโปรเจคที่ใหญ่ที่สุดนั้นก็คือการต่อเติมเพื่อขยายสนามบิน Oslo-Gardermoen เทอรมินัลใหม่ในสนามบิน Bergen.  บริษัท Aas-Jakobsen จะรับผิดชอบในด้าน structural engineeringและ การบริหารการจัดการ BIM ซึ่งบริษัท Aas-Jakobsen นั้นมีพนักงานจำนวน120ราย แบ่งเป็น3แผนกใหญ่ : ทีมbuilding ,ทีมinfrastructure ,และทีมbridge ตามที่วิศวกรโครงสร้างและผู้จัดการ BIM นาม Erik Hersleth , พวกเขาบอกว่าความคล่องตัวของบริษัทจะทำให้มีส่วนในการตัดสินใจได้ง่ายมากขึ้นกว่าเดิม

บริษัท Aas-Jakobsen ได้เริ่มต้นใช้ Tekla อย่างเต็มรูปแบบในปี 2009 หลังจากที่พวกเขาเลือกsoftware ใหม่ๆมาช่วยงาน
และเหตุผลที่เขาเลือก Tekla ก็เพราะหลักการ Open BIMและOpen API รวมไปถึงอินเทอร์เฟซที่ช่วยให้การสร้างปลั๊กอินที่สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานในบริษัทได้

-“พวกเราชอบที่ได้ใช้ modelเดียวกันในโปรเจคทั้งหมด นั่นทำให้ Tekla เป็นsoftwareที่เหมาะสมสำหรับงานdetailingของ steel และ precast และมีข้อได้เปรียบที่ชัดเจน งานด้านเหล็กเสริมของโปรแกรม(reinforcement )ก็ดูเหมือนได้รับการพัฒนามาไกลด้วย” Erik Hersleth พูด บริษัท Aas-Jakobsenมีเป้าหมายในการทำโมเดลให้ถูกต้องภายในครั้งเดียวโดยไม่คำนึงถึงเรื่องโครงสร้าง

-“ เทอรมินัลของสนามบิน Bergen นั้นมีโครงสร้างที่ซับซ้อนแต่ทว่าโครงสร้างนั้นมีการนำกลับมาทำซ้ำใหม่อีกรอบภายใต้กฎที่เข้มงวด นี่คือหนึ่งในเหตุผลที่เหมาะสมที่สุดของการหา outsourcing” Hersleth กล่าว
บริษัท Aas-Jakobsen เคยมาทำงานกับบริษัทOutsourceที่กรุงเทพก่อนหน้านี้ซึ่งสามารถช่วยให้พวกเขาได้ทุกอย่างที่ต้องการในการทำโปรเจคให้สมบูรณ์

การเข้าถึงการแก้ปัญหา

แม้ว่าเราจะมีประสบการณ์การทำงานที่ดีในประเทศไทย Aas-Jakobsen ก็ยังต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการร่วมมือในการทำงาน Hersleth บอกไว้ว่าเมื่อใดก็ตามที่พวกเขาต้องการที่จะติดต่องานไปยังออฟฟิสอื่น เค้าจะใช้ฟังก์ชั่น Multiuser ในTekla ผ่าน VPN  แต่การเชื่อมต่อทางอินเตอร์เนตในประเทศไทยมักจะมีความล่าช้าเกิดขึ้นทำให้การส่งต่อของข้อมูลไม่ราบรื่นเท่าที่ควร
ในขณะเดียวกัน Teklaก็ได้มีการทดสอบการบริการใหม่ๆที่จะช่วยให้ทีมงานที่ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใดหรือเวลาจะแตกต่างกันแค่ไหน ก็สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในโปรเจคของ Tekla Structure ด้วย Tekla Model Sharing นั่นก็สามารถทำงานได้ทั้งonlineหรือofflineโปรเจค หรือแม้แต่อินเตอร์เนตจะช้ามากก็ไม่เป็นอุปสรรค

-“ในที่ประชุมเกี่ยวกับการใช้Tekla ได้สรุปว่าพวกเขาพร้อมแล้วที่จะใช้ Model sharingในการทำโปรเจคงานจริง” Hersleth กล่าว “ Tekla สัญญาว่าจะสนับสนุนพวกเขาให้ดีที่สุด ซึ่งนับว่าเป็นทางออกที่ดีในการแก้ปัญหาของพวกเขา”

ความสำเร็จในการการออกแบบโมเดลขนาดใหญ่

Hersleth รู้สึกว่ามีความเสี่ยงในการใช้ Tekla Model sharing เพราะในเวลานั้นโปรแแกรมยังไม่เปิดเต็มตัว แต่พวกเขาเชื่อมั่นในระบบการทำงานของ Tekla ว่าจะสามารถตอบสนองและสนับสนุนพวกเขาได้ดีมากพอ
-“ สถานการณ์ที่แย่ที่สุดนั้นคือตัว modelไม่ได้มีการsyncกัน” Herslethกล่าว   “ พวกเราจะมีการสร้างดรออิิ้งจำนวนมากซึ่งมีกำหนดส่งรออยู่ นั่นทำให้ถือว่าเป็นสิ่งที่แย่มากสำหรับ Aas-Jakobsen หากพวกเขาไม่สามารถส่งงานได้ตามกำหนดเวลา”

เมื่อพวกเขาได้เริ่มทำงานด้วย Tekla Model Sharing , Herslethนั้นเกิดความกังวลขึ้นเมื่อต้องมีการซิงโครไนซ์โมเดลกัน แต่อย่างไรก็ตามไม่เคยต้องการสำรองข้อมูลในแต่ละวัน “จุดเริ่มต้นคือเราจะมีการเปรียบเทียบmodelsในวันก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนใหม่กับปัจจุบัน ซึ่งหากพบว่าไม่มีอะไรผิดพลาดเราก็จะดำเนินการต่อไป”

และเมื่อผู้เข้าร่วมเติบโตและมีความมั่นใจมากขึ้น “พวกเราได้รับการซัพพอร์ตจาก Tekla และสามารถแก้ปัญหาต่างๆไปด้วยกันได้ ณ ตอนนี้ทุกปัญหาได้รับการแก้ไข ทำให้เวลาในการหยุดชะงักน้อยมาก เป็นปีที่ราบรื่น” Hersleth มีความพอใจเป็นอย่างมากในความสัมพันธ์ที่ดีงามกับ Tekla   

ความสำคัญในการบริหารจัดการและการแชร์ข้อมูลข่าวสาร

การทำงานในstrategyที่ชัดเจนและรู้ขอบเขตงานว่าใครเป็นคนรับผิดชอบในส่วนไหนๆของโปรเจคและแต่ละส่วนเป็นอย่างไรมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ณ ตอนนี้ออฟฟิสที่กรุงเทพรับผิดชอบการสร้างการดรออิ้งและใส่เหล็กเสริม(reinforcement )สำหรับงานterminal ตัวใหม่และใช้พนักงานเพียงคนเดียวใน Sogndall, Norway จัดการทุกอย่างสำหรับเทอร์มินัลแห่งเดิม

Tekla Model Sharing ช่วยให้สามารถทำงานได้จากทั่วโลกแต่การบริหารจัดการและวางแผนโปรเจคที่ดีคือหนทางไปสู่ความสำเร็จ,Aas-Jakobsen กล่าว

Hersleth ได้ชี้ให้เห็นว่าข้อมูลนั้นมีความแม่นยำพอที่จะสามารถแชร์ให้เพื่อนร่วมงานแม้จะอยู่ต่างถิ่นได้ ซึ่งพวกเขาไม่สามารถที่จะตอบคำถามจากประเทศไทยได้ในทันทีเนื่องจากที่ประเทศนอร์เวยตอนนั้นเป็นเวลากลางคืน
 

แนวทางใหม่ของทำงานในอนาคต

ในอนาคต Aas-Jakobsen จะร่วมมือในการทำโปรเจคกับออฟฟิสในกรุงเทพมากขึ้นซึ่งจะสามารถช่วยให้เขาสามารถแข่งขันรับโปรเจคใหม่ๆที่เข้ามาได้ พวกเขายังตั้งเป้าหมายระยะยาวเพื่อหาวิธีสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในอนาคต

Aas-Jakobsen อาจจะเป็นบริษัทขนาดเล็กแต่ด้วยำอเดียที่สดใหม่และพวกเขาสามารถนำทีมระดับโลกมารวมกันได้สำหรับโครงการขนาดใหญ่ “เราพยายามที่จะมองหาโปรเจคใหม่ๆที่มีworkflowคล้ายๆกัน” Herslethกล่าวไว้และเขายังบอกด้วยว่าเขาชอบใช้ Tekla Model Sharing เพราะเวลาและการคุมงบประมาณเป็นสิ่งสำคัญที่ Aas-Jakobsen

 

Links and materials: